Online Registration Form

Sign in with your existing account




 


Re-LIVE.. FAR7 ศิลปกรรมวิจัย 2564 “ART INTEGRATION ศิลป์ข้ามศาตร์” Khon Kaen University
 

1.พิธีเปิดและบรรยาย https://youtu.be/1v1fHac2xJ4


2.ห้องระดับชาติทัศนศิลป์ https://youtu.be/JQT6e9dfd00


3.ห้องนานาชาติทัศนศิลป์ https://youtu.be/SjIx13o4I8g


4.กลุ่มระดับชาติสาขาวัฒนธรรม https://youtu.be/LbdMsxL_-3g


5.กลุ่มนานาชาติสาขาวัฒนธรรมวันที่ 20 https://youtu.be/GsMJM83Z8QI


6.กลุ่มนานาชาติสาขาวัฒนธรรมวันที่ 21 https://youtu.be/38m80xvV9UI


7.กลุ่มระดับชาติสาขาดนตรีและการแสดง https://youtu.be/85dMdUclT-M


8.กลุ่มนานาชาติดนตรีและการแสดงวันที่ 20 https://youtu.be/517F6dfjFMY


9.กลุ่มนานาชาติดนตรีและการแสดงวันที่ 21 https://youtu.be/Du_F5Qb9Kvs


10.กลุ่มระดับชาติสาขาการออกแบบ https://youtu.be/mCMg_MrqBvY

 


 Download Certificate & Proceedinge

Download Proceedinge

Download Certificate




ข้อปฏิบัติการนำเสนอผลงานผ่านโปรแกรม ZOOM

1. ขอให้ผู้นำเสนอ ใช้ Meeting ID และ Passcode ที่ผู้จัดส่งให้ที่ Email ของผู้นำเสนอ เพื่อ Login เข้าโปรแกรม Zoom ก่อนเวลานำเสนอ 15 นาที พร้อมกับให้เปลี่ยนภาพพื้นหลัง ตามประเภทที่ผู้จัดกำหนดให้ (พื้นหลังสำหรับผู้นำเสนอ/พื้นหลังสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ)

2. การนำเสนอผลงานจะดำเนินการตามตารางที่กำหนดไว้ โดยมีเวลา 30 นาที แบ่งออกเป็นเวลานำเสนอ 15 นาที เวลาให้ข้อแนะนำและซักถาม 15 นาที

3. การเปิดกล้อง โปรแกรม Zoom ให้เปิดเฉพาะผู้นำเสนอ (ที่นำเสนอช่วงเวลานั้นๆ) ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ประสานงาน เท่านั้น

4. เมื่อเข้าห้องนำเสนอ ขอให้ปิดไมค์ให้เรียบร้อย จะเปิดก็ต่อเมื่อถึงเวลาการนำเสนอผลงานตัวเองเท่านั้น

 


พิ้นหลังสำหรับผู้นำเสนอ

พื้นหลังสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ

พื้นหลังสำหรับผู้เข้าร่วมงาน


 

กลุ่มทัศนศิลป์
(Visual Art)

กลุ่มออกแบบ
(Design)

กลุ่มดนตรีและการแสดง
(Music&Performance)

กลุ่มวัฒนธรรม
(Cultural)


โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ศิลปกรรมวิจัยประจำปี 2564 (FAR7)
“ศิลป์ข้ามศาสตร์” Art Integration
วันที่ 20 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ด้วยรูปแบบผสมผสาน (Mixed-mode) ผ่านช่องทาง Zoom meeting หรือ เว็บไซต์การประชุม
https://far.kku.ac.th (Online) และ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Onsite)


1.การปาฐกถาพิเศษผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom meeting และเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ https://far.kku.ac.th

2. ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

          2.1 การนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) สามารถนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) ผ่านโปรแกรม Zoom meeting หรือ เข้าร่วมนำเสนอ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Onsite)  โดยแยกห้องประชุมตามระดับของการประชุม ได้แก่

                    2.1.1. การประชุมระดับชาติ (National Conference) โดยจัดเป็น 4 ห้อง ตามกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ 1. กลุ่มสาขาทัศนศิลป์ 2. กลุ่มสาขาการออกแบบ 3.กลุ่มสาขาดนตรีและการแสดง 4. กลุ่มสาขาวัฒนธรรม โดยผู้นำเสนอสามารถนำเสนอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

                    2.1.2 การประชุมระดับนานาชาติ (International Conference) จำนวน 1 ห้อง ได้แก่ กลุ่มนานาชาติ โดยผู้นำเสนอต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

          2.2 การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster presentation) โดยจัดส่งบทคัดย่อและไฟล์โปสเตอร์ผลงานผ่านทางเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ โดยขนาดของโปสเตอร์ต้องเป็นไปตามรูปแบบ template ที่กำหนดไว้ในเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ และสามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยท่านสามารถระบุวิธีการเผยแพร่ได้ 2 ลักษณะคือ การเผยแพร่ออนไลน์ (Online) ในเว็บไซต์งานประชุมวิชาการ https://far.kku.ac.th และ และเผยแพร่โดยติดตั้ง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Onsite) โดยจะต้องจัดส่งโปสเตอร์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564

          2.3 การนำเสนอด้วยผลงานสร้างสรรค์ ผู้นำเสนอผลงานต้องจัดทำเป็นวีดีทัศน์แสดงผลงาน โดยมีลักษณะดังนี้

                    2.3.1 ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ให้นำเสนอวิดิทัศน์ผลงานสร้างสรรค์ประกอบการบรรยายด้วยเสียงหรืออักษรบรรยายใต้ภาพ (sub-title) ความยาวไม่เกิน 15 นาที

                    2.3.2 ผลงานทางสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี ให้นำเสนอวิดิทัศน์ผลงานสร้างสรรค์ประกอบการบรรยายด้วยเสียงหรืออักษรบรรยายใต้ภาพ (sub-title) ความยาวไม่เกิน 15 นาที

                    2.3.3 ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะการแสดง ให้นำเสนอวิดิทัศน์ผลงานการแสดง ประกอบการบรรยายด้วยเสียงหรืออักษรบรรยายใต้ภาพ (sub-title) ความยาวไม่เกิน 15 นาที ความละเอียดวิดิทัศน์ให้บันทึกแบบ HD : High Definition (1280 x 720 pixels) และบันทึกเป็นไฟล์วีดิโอประเภท .mp4 และบันทึกลงใน Google drive และแชร์มาที่ tornji@kku.ac.th โดยท่านสามารถนำเสนอการบรรยายด้วยเสียงและอักษรใต้ภาพได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ส่งวิดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564)

3. ผู้เข้าร่วมการประชุมที่ไม่ใช่ผู้นำเสนอผลงาน สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ การประชุม ฯ  https://far.kku.ac.th

4.  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

          คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          โทรศัพท์/โทรสาร 043-202396
          เว็บไซต์หลักการประชุม: https://far.kku.ac.th
          ผู้ประสานงาน คุณอรจิรา  หัตถพนม  โทร 062-4485944

 

รายละเอียดกำหนดการ

ที่ เรื่อง กำหนดการ
1. ประชาสัมพันธ์ มีนาคม 2564
2. ลงทะเบียนและส่งบทความทางวิชาการ 1 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2564
3. ส่งเอกสารทางวิชาการให้ Peer review ตรวจสอบ 1 เมษายน - 15 กรกฎาคม 2564
4. ส่งผลงานกลับไปให้ผู้นำเสนองานแก้ไข 1 เมษายน - 15 กรกฎาคม 2564
5. วันสุดท้ายของการรับผลงานสมบูรณ์จากผู้นำเสนอ 23 กรกฎาคม 2564
6. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์นำเสนอผลงาน 26 กรกฎาคม 2564
7. อัพโหลด Proceeding และผลงานรูปแบบ Onlineลงในเว็บไซต์งานประชุมฯ 16 สิงหาคม 2564
8. การนำเสนอผลงานในรูปแบบ Onsite และ Online 20 - 21 สิงหาคม 2564


*คณะผู้จัดงานจะดำเนินการจัดทำและติดตั้งแบบโปสเตอร์ให้แก่เจ้าของผลงาน

 


หลักการและเหตุผล

          คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดวิสัยทัศน์คือ ศูนย์กลางการวิจัยและสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมในอาเซียน โดยมีเป้าหมายคือหลักสูตรและองค์กรได้รับคุณภาพมาตรฐานสากล เน้นการวิจัยและสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม โดยเน้นทุนทางวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเป็นองค์กรภาคีหุ้นส่วนกับองค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชนและสังคม  และการสร้างมูลค่าเพิ่มของศิลปกรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทาง Culture Based Economy การส่งเสริมและการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์การวิจัยทางด้านศิลปกรรม และงานสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ตระหนักและให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเป็นศักยภาพทางด้านการวิจัย ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน

          ดังนั้นคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้จัดให้มีโครงการการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ศิลปกรรมวิจัยประจำปี 2564 (FAR7) “ศิลป์ข้ามศาสตร์” Art Integration ขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยทางด้านศิลปกรรม เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ นาเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในศาสตร์แขนงต่างๆ รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการและวิชาชีพที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

 

วัตถุประสงค์

     1. เพื่อจัดเวทีนำเสนอผลการวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ ผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยนักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

     2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การนำเสนอผลงานวิจัยที่จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

     3. เพื่อสร้างนักวิจัยใหม่ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์

     4. เพื่อเป็นช่องทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ

 

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนทั้งสิ้น 300 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้

     1. คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา จากสถาบันเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการ และสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

     2. คณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     3. ผู้สนใจทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ และการบรรยายพิเศษ

     4. คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอและการบรรยายพิเศษจากต่างประเทศ

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

     1. มีนักวิจัยนำเสนอผลงานวิจัยบนเวทีอย่างน้อย 70  ราย

     2. มีผลงานวิจัยที่เสนอในรูปแบบโปสเตอร์อย่างน้อย 30 เรื่อง

     3. มีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมอย่างน้อย 300 คน

 

รูปแบบการดำเนินการ

     1. การบรรยายพิเศษ (Keynote Speaker)

     2. การเสวนากลุ่ม (Group Discussion)

     3. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation)

     4. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

วิธีดำเนินการ

     1. จัดทำโครงการเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ

     2. วางรูปแบบการจัดงานและมอบหมายแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

     3. ประสานงานกับนักวิจัยและเชิญชวนเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย

     4. ประสานงานเชิญผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์งานวิจัย และประสานวิทยากรบรรยายพิเศษ

     5. ประชาสัมพันธ์โครงการ

     6. ดำเนินโครงการตามแผน

     7. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

     8. จัดทำรายงานผลสรุปโครงการ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

     1. เป็นเวทีการเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และผลงานวิชาการด้านศิลปกรรม

     2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ทำผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

     3. เพื่อเป็นช่องทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ


 

 

 


เรียน ผู้นำเสนอทุกท่าน

ตามที่ท่านได้ส่งบทความวิชาการเพื่อนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2564 (FAR7) คณะฯ ใคร่ขอแจ้ง ดังนี้

    1. ให้ท่าน LOGIN ตรวจสอบการ Peer Review ในระบบ หากท่านแก้ไขเสร็จแล้วให้ส่งในระบบ
    2. หากบทความที่ยังไม่ได้ Peer Review คณะฯ จะขยายเวลาดำเนินการให้ท่านภายใน 7 วัน
    3. หากมีปัญหาในการเข้าระบบให้แจ้งปัญหาที่ tornji@kku.ac.th
    4. การส่งไฟล์ Poster ให้แชร์ไฟล์ผ่าน Google Drive มาที่ tornji@kku.ac.th