Online Registration Form

Sign in with your existing account




ข่าวประกาศ



โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 (FAR8)
“The Future of Arts: The Challenges to Artists”
ศิลป์ท้า เวลา ท้าศิลป์
ในระหว่างวันที่ 3 - 4 กันยายน พ.ศ. 2565
ผ่านช่องทาง Zoom meeting และเว็บไซต์การประชุม https://far.kku.ac.th (ONLINE) และ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ONSITE) 


1. การปาฐกถาพิเศษผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom meeting และเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ https://far.kku.ac.th และ Onsite ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          2.1 General panel เป็นการนำเสนอด้วยวาจา หรือนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ผู้นำเสนอสามารถนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom meeting และนำเสนอแบบออนไซต์ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ตามรายละเอียด ดังนี้
​          ​          2.1.1 กลุ่มระดับชาติ (National Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาไทย    โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
​          ​          2.1.2 กลุ่มระดับนานาชาติ (International Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาอังกฤษ โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ผู้สนใจนำเสนอบทความวิจัย/บทความวิชาการ ประเภท General panel สามารถเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

          ​           การนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) ส่งบทคัดย่อ และบทความฉบับสมบูรณ์   เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และปรับแก้บทความเพื่อตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม (Proceedings) หลังเสร็จสิ้นการประชุม

          ​           การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation) เป็นการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ โดยจะต้องส่งบทคัดย่อ และบทความฉบับสมบูรณ์ เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ปรับแก้บทความและจำทำเป็นโปสเตอร์ตามรูปแบบ template ที่กำหนดไว้ในเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ โดยท่านสามารถระบุวิธีการเผยแพร่ได้ 2 ลักษณะคือ การเผยแพร่ออนไลน์ (Online) ในเว็บไซต์งานประชุมวิชาการ https://far.kku.ac.th โดยจะต้องจัดส่งโปสเตอร์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2565

          2.2 New Scholars เป็นกลุ่มการนำเสนองานวิจัยระดับชาติสำหรับนักวิชาการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งจะมีโอกาสได้นำเสนอผลงานภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร โดยมีนักวิจัยและนักวิชาการมากประสบการณ์เป็นผู้นำการประชุม และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในกลุ่มนักวิชาการรุ่นใหม่ในสาขาทางด้านศิลปะ ได้แก่ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยผู้สนใจสามารถส่งบทคัดย่อ และเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper/Pre-proposal) ความยาวไม่เกิน 5,000 คำ เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน

          2.3 Curated panel เป็นกลุ่มการนำเสนอบทความสำหรับผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ซึ่งเป็นบทความที่มีหัวข้อและเนื้อหาที่โดดเด่น และเชื่อมต่อกับแนวคิดของงานได้อย่างน่าสนใจ โดยผู้สมัครจะต้องเลือกสมัครในกลุ่ม General panel ในรูปแบบการนำเสนอด้วยวาจา จากนั้นผู้จัดจะทำการคัดเลือกบทความ เพื่อเข้าร่วมนำเสนอในกลุ่มนี้

          2.4 Workshop panel เป็นกลุ่มการนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ซึ่งผู้นำเสนอต้องการเสนอข้อค้นพบทางด้านเทคนิค หรือวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะในสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ ทัศนศิลป์             การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ในเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมปฏิบัติ สังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดหลังนำเสนอการปฏิบัติ โดยกลุ่มนี้เปิดรับผู้นำเสนอ 5 ผลงาน โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งแบบบุคคล และแบบกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 5 คน โดยจะต้องนำเสนอแบบ    ออนไซต์ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้สนใจสามารถส่งบทคัดย่อ และเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper/Pre-proposal) ความยาวไม่เกิน 5,000 คำ เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  3 ท่าน

          2.5 Roundtable เป็นการนำเสนอในรูปแบบเสวนาหัวข้อคัดสรรตามแนวคิดการประชุม โดยผู้นำเสนอสามารถเข้าร่วมพูดคุย และเสวนากับนักวิจัยมากประสบการณ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นประธานในการเสวนาด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสำหรับนักศึกษาทุกระดับ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจในงานศิลปะทุกสาขาวิชา โดยสามารถส่งบทคัดย่อ และและเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper/Pre-proposal) ความยาวไม่เกิน 5,000 คำ เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน

          2.6 Performance panel เป็นกลุ่มสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ      ด้วยการแสดงในสาขาต่าง ๆ อาทิทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และวัฒนธรรม โดยสามารถนำเสนอการแสดงสด (Live performance) ในรูปแบบออนไซต์ หรือนำเสนอวิดีทัศน์การแสดงในรูปแบบออนไซต์ และออนไลน์ ซึ่งต้องจัดทำรายละเอียดดังนี้

                    • ผลงานการแสดงมีความยาวไม่เกิน 30 นาที หากเป็นวิดิทัศน์การแสดงจะต้องบันทึกแบบ HD: High Definition (1280 x 720 pixels) และบันทึกเป็นไฟล์วีดิโอประเภท .mp4 และบันทึกลงใน Google drive และแชร์มาที่ tornji@kku.ac.th

                    • ผู้นำเสนอสามารถอภิปรายหลังการแสดงด้วยแบบออนไซต์ หรือออนไลน์ผ่าน Zoom meeting (ส่งวิดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2565)

                    • ผู้สนใจสามารถส่งบทคัดย่อ วิดิทัศน์ตัวอย่างการแสดง และเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper/Pre-proposal) ความยาวไม่เกิน 5,000 คำ เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยการนำเสนอระดับชาติจะพิจารณาเอกสาร และการอภิปรายเป็นภาษาไทย ส่วนการนำเสนอระดับนานาชาติจะพิจารณาเอกสาร และการอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษ

3. ผู้เข้าร่วมการประชุมที่ไม่ใช่ผู้นำเสนอผลงาน สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ การประชุม ฯ  https://far.kku.ac.th

4. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์/โทรสาร 043-348319
เว็บไซต์หลักการประชุม:  https://far.kku.ac.th 
ผู้ประสานงาน คุณอรจิรา  หัตถพนม  โทร 062-4485944