การประชุมครั้งนี้เปิดพื้นที่และสร้างบทสนทนาเพื่อสำรวจแนวคิดและมุมมองใหม่ในงานศิลปกรรม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวัฒนธรรม เทคโนโลยีและแนวคิดเชิงทฤษฎี การทบทวนต่อการตั้งคำถามทางศิลปะในทุกมิติ “มองมุมใหม่” จะช่วยขยายขอบเขตของวิธีคิดและการปฏิบัติทางศิลปะในศตวรรษที่ 21
มอง | "การมอง" และ "การเห็น" ในบริบทของศิลปะ
การมองเป็นการรับรู้ทางศิลปะและเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินและนักวิชาการสำรวจว่าเรามองศิลปะอย่างไร และการมองเห็นผลต่อการสร้างงานอย่างไร และศิลปะสามารถเปลี่ยนแปลงการมองเห็น การรับรู้และการตีความของผู้ชมได้ในมิติใดบ้าง
มุม | มุมมองกรอบแนวคิดที่เปลี่ยนไปกับการวิจัยและการสร้างสรรค์งานศิลปะ
การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของมุมมองที่หลากหลายของกรอบแนวคิด ทฤษฎี และกระบวนทัศน์การวิจัยและการสร้างสรรค์ทางศิลปะ การแลกเปลี่ยนมุมมองและการเปิดรับมิติการมองศิลปะด้วยศาสตร์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อบทบาทของศิลปะ
ใหม่ | การตีความ "ความใหม่" ในศิลปะและศาสตร์ทางศิลปะ
การสำรวจแนวคิดเรื่องวิธีการใหม่ การสร้างเรื่องเล่าใหม่ และการสร้างการรับรู้ใหม่ในงานศิลปะ ในมิติของความใหม่มิได้หมายถึงเพียงนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี แต่รวมถึงการตั้งคำถามและตีความใหม่ และการเชื่อมโยงศิลปะร่วมสมัยกับประวัติศาสตร์และแนวคิดเชิงทฤษฎีเพื่อสร้างบทสนทนาใหม่ ๆ
การประชุมวิชาการนี้เปิดกว้างต่อวิจัยเชิงศิลปะในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานทัศนศิลป์ การออกแบบ ศิลปะดิจิทัล ดนตรีและการแสดง การเขียนงานเชิงสร้างสรรค์ตลอดจนงานศิลปะข้ามศาสตร์หรือข้ามสาขา เชิญชวนนักวิชาการ นักวิจัย ศิลปิน นักศึกษา และผู้ที่สนใจร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ ทางศิลปะในการประชุมวิชาการนี้ ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. General panel เป็นการนำเสนอด้วยวาจา โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชาติ และระดับนานาชาติตามรายละเอียด ดังนี้
1.1 กลุ่มระดับชาติ (National Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาไทย โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
1.2 กลุ่มระดับนานาชาติ (International Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาอังกฤษ โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
หมายเหตุ การส่งบทความมีรายละเอียดการส่งดังนี้
1. สำหรับนักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา ส่งเฉพาะบทคัดย่อ (Abstract)
2. สำหรับนักศึกษาที่ต้องการนำเสนอเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาให้ส่งบทความฉบับเต็มไม่เกิน 15 หน้า
2. Poster presentation เป็นการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ โดยขนาดของโปสเตอร์ต้องเป็นไปตามรูปแบบ template ที่กำหนดไว้ในเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และต้องจัดส่งโปสเตอร์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 19 กรกฎาคม 2568
3. New Scholars เป็นกลุ่มการนำเสนองานวิจัยสำหรับนักวิชาการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งจะมีโอกาสนำเสนอผลงานภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีนักวิจัยและนักวิชาการมากประสบการณ์เป็นผู้นำการประชุม และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในกลุ่มนักวิชาการรุ่นใหม่ในสาขาทางด้านศิลปะ ได้แก่ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยส่งบทคัดย่อ และ Concept Paper ไม่เกิน 5,000 คำ
3.1 กลุ่มระดับชาติ (National Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาไทย โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
3.2 กลุ่มระดับนานาชาติ (International Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาอังกฤษ โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
หมายเหตุ การส่งบทความมีรายละเอียดการส่ง ดังนี้
1. สำหรับนักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา ส่งเฉพาะบทคัดย่อ (Abstract)
2. สำหรับนักศึกษาที่ต้องการนำเสนอเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาให้ส่ง Concept Paper ไม่เกิน 5,000 คำ หรือ Full Paper ไม่เกิน 15 หน้า
4. Workshop panel เป็นกลุ่มที่ผู้นำเสนอต้องการเสนอข้อค้นพบทางด้านเทคนิค หรือวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะในสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ในเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมปฏิบัติ สังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดหลังนำเสนอการปฏิบัติ โดยกลุ่มนี้เปิดรับผู้นำเสนอ 5 ผลงาน โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งแบบบุคคล และแบบกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 5 คน
5. Roundtable เป็นการนำเสนอในรูปแบบเสวนาหัวข้อคัดสรรตามแนวคิดการประชุม โดยผู้นำเสนอสามารถเข้าร่วมพูดคุย และเสวนากับนักวิจัยมากประสบการณ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นประธานในการเสวนาด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสำหรับนักศึกษาทุกระดับ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจในงานศิลปะทุกสาขาวิชา โดยสามารถส่งบทความวิจัย หรือบทความวิชาการขนาดสั้นเข้าร่วมอภิปรายในกลุ่มนี้ โดยส่งบทคัดย่อ และ Concept Paper ไม่เกิน 5,000 คำ
6. Performance panel เป็นกลุ่มสำหรับการนำเสนอผลงานด้วยการแสดงในสาขาต่าง ๆ อาทิทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และวัฒนธรรม โดยสามารถนำเสนอการแสดงสด (Live performance) ในรูปแบบออนไซต์ หรือนำเสนอวิดีทัศน์การแสดง ซึ่งต้องจัดทำวีดีทัศน์ตามรายละเอียดดังนี้
• ผลงานการแสดงมีความยาวไม่เกิน 15 นาที ความละเอียดวิดิทัศน์ให้บันทึกแบบ HD: High Definition (1280 x 720 pixels) และบันทึกเป็นไฟล์วีดิโอประเภท .mp4 และบันทึกลงใน Google drive และแชร์มาที่ tornji@kku.ac.th
• ผู้นำเสนอสามารถอภิปรายหลังการแสดงด้วยแบบออนไซต์ หรือออนไลน์ผ่าน Zoom meeting (ส่งวิดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568)
หมายเหตุ ผู้ที่ส่งผลงานสร้างสรรค์หากมีความประสงค์แสดงโชว์ให้แจ้งความประสงค์คณะฯ จะพิจารณาจัดสรรพื้นที่การแสดงต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์/โทรสาร 043-348319 เว็บไซต์หลักการประชุม: https://far.kku.ac.th/info/r/2025
ผู้ประสานงาน คุณอรจิรา หัตถพนม
โทร 062-4485944
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University.
ที่อยู่: 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40002