1. ถ่ายทอดสดการปาฐกถาพิเศษผ่านเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ https://far.kku.ac.th ส่วนการนำเสนอด้วยวาจาและโปสเตอร์เป็นรูปแบบออนไซต์ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกรูปแบบการนำเสนออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1 General panel เป็นการนำเสนอด้วยวาจา ผู้นำเสนอต้องนำเสนอแบบออนไซต์ (Onsite) ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ตามรายละเอียด ดังนี้
2.1.1 กลุ่มระดับชาติ (National Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาไทย โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
2.1.2 กลุ่มระดับนานาชาติ (International Conference) เป็นการนำเสนอบทความด้วยภาษาอังกฤษ โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับแนวคิดการประชุม และเกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านศิลปะดังต่อไปนี้ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
2.2 Poster presentation เป็นการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ โดยขนาดของโปสเตอร์ต้องเป็นไปตามรูปแบบ template ที่กำหนดไว้ในเว็บไซต์การประชุมวิชาการฯ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และต้องจัดส่งโปสเตอร์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2566
2.3 New Scholars เป็นกลุ่มการนำเสนองานวิจัยสำหรับนักวิชาการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งจะมีโอกาสนำเสนอผลงานภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีนักวิจัยและนักวิชาการมากประสบการณ์เป็นผู้นำการประชุม และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในกลุ่มนักวิชาการรุ่นใหม่ในสาขาทางด้านศิลปะ ได้แก่ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยส่งบทคัดย่อ และ Concept Paper ไม่เกิน 5,000 คำ
2.4 Workshop panel เป็นกลุ่มที่ผู้นำเสนอต้องการเสนอข้อค้นพบทางด้านเทคนิค หรือวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะในสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ ทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ในเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมปฏิบัติ สังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดหลังนำเสนอการปฏิบัติ โดยกลุ่มนี้เปิดรับผู้นำเสนอ 5 ผลงาน โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งแบบบุคคล และแบบกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 5 คน
2.5 Roundtable เป็นการนำเสนอในรูปแบบเสวนาหัวข้อคัดสรรตามแนวคิดการประชุม โดยผู้นำเสนอสามารถเข้าร่วมพูดคุย และเสวนากับนักวิจัยมากประสบการณ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นประธานในการเสวนาด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสำหรับนักศึกษาทุกระดับ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจในงานศิลปะทุกสาขาวิชา โดยสามารถส่งบทความวิจัย หรือบทความวิชาการขนาดสั้นเข้าร่วมอภิปรายในกลุ่มนี้ โดยส่งบทคัดย่อ และ Concept Paper ไม่เกิน 5,000 คำ
2.6 Performance panel เป็นกลุ่มสำหรับการนำเสนอผลงานด้วยการแสดงในสาขาต่าง ๆ อาทิทัศนศิลป์ การออกแบบ ดนตรี ศิลปะการแสดง และวัฒนธรรม โดยสามารถนำเสนอการแสดงสด (Live performance) ในรูปแบบออนไซต์ หรือนำเสนอวิดีทัศน์การแสดง ซึ่งต้องจัดทำวีดีทัศน์ตามรายละเอียดดังนี้
• ผลงานการแสดงมีความยาวไม่เกิน 15 นาที ความละเอียดวิดิทัศน์ให้บันทึกแบบ HD: High Definition (1280 x 720 pixels) และบันทึกเป็นไฟล์วีดิโอประเภท .mp4 และบันทึกลงใน Google drive และแชร์มาที่ tornji@kku.ac.th
• ผู้นำเสนอสามารถอภิปรายหลังการแสดงด้วยแบบออนไซต์ หรือออนไลน์ผ่าน Zoom meeting (ส่งวิดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2566)
3. ผู้เข้าร่วมการประชุมที่ไม่ใช่ผู้นำเสนอผลงาน สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานประชุมได้ที่เว็บไซต์ การประชุม ฯ https://far.kku.ac.th
4. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์/โทรสาร 043-348319
เว็บไซต์หลักการประชุม: https://far.kku.ac.th
ผู้ประสานงาน คุณอรจิรา หัตถพนม โทร 062-4485944
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University.
ที่อยู่: 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40002